วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ข้อสอบพร้อมเฉลยฟิสิกส์ เรื่องแรงและการเคื่อนที่


                แบบทดสอบ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

1. สาเหตุที่ทำให้เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ คืออะไร

. แรงดึงน้อย                          . แรงเสียดทานมาก  

. แรงกดน้อย                         . แรงพยายามน้อย

2.แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเรียกว่าอะไร

. แรงดึง                                 . แรงกด                   

. สัมประสิทธิ์                                    . แรงเสียดทาน

3.เหตุใดยางรถยนต์จึงมีลวดลายและผิวขรุขระ
 . เพิ่มแรงเสียดทาน               . ลดแรงเสียดทาน

. ให้ความสวยงาม                 . สะดวกสบายเวลาเปลี่ยนยาง

4.กรณีใดเป็นการเพิ่มแรงเสียดทาน

. บุชในพัดลม                                    . ตลับลูกปืนที่ล้อ
. รองเท้าไม้                           . ยางรถยนต์

5.เมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า แรงเสียดทานของถนนจะมีทิศทางใด

 . ทิศทางตรงข้ามกับรถวิ่ง    . ทิศทางเดียวกับรถวิ่ง

. ทิศทางไม่แน่นอน               . พื้นถนนมีแรงเสียดทานทุกทิศทาง

6. เหตุการณ์ใดสนับสนุนข้อความที่ว่า ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้

. รถที่วิ่งขึ้นเขา ต้องเร่งเครื่องมากกว่ารถที่แล่นในที่ราบ
. ขณะรถวิ่งลงจากเขา เมื่อดับเครื่องรถยังวิ่งต่อไปได้
. เมื่อรถวิ่งผ่านถนนที่มีน้ำมันเครื่องหกอยู่เต็ม รถจะหมุนคว้าง
. รถที่แล่นเร็วจะต้องใช้ระยะเบรคไกลกว่ารถที่แล่นช้า

7. ยานพาหนะใดที่มีอัตราการสูญเสียพลังงานขับเฉื่อยมาจากแรงเสียดทานพาหนะขณะเคลื่อนที่มากที่สุด
. รถยนต์                    . เรือ
. ยานอวกาศ              . เครื่องบิน




8.วัตถุหนัก 2 กิโลกรัม วางบนพื้นราบ ที่มีค่าแรงเสียดทาน 2 นิวตันเมื่อออกแรงดึงตามแนวราบ

วัตถุเริ่มเคลื่อนที่พอดีจงหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน (1 กิโลกรัม = 10 นิวดัน)

. 0.1                           . 1

. 10                            . 40

9. เมื่อออกแรงดึงท่อนไม้หนัก 1 กิโลกรัม ด้วยแรง 5 นิวตัน ท่อนไม้เริ่มเคลื่อนที่ จงหาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน

. 0.2                           . 0.5
. 2                              . 5

10. เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมักมีสาเหตุมาจากอะไร

. แรงเสียดทานมากเกินไป                . แรงพยายามน้อยไป
. งานที่ใช้มากกว่างานที่ให้               . ถูกทุกข้อ

เฉลย

1.                   2.                   3.                   4.                   5.     

6.                  7.                     8.                 9.                   10. 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์
            ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1600 เป็นขอบเขตง่าย ๆ ระหว่างแนวคิดโบราณกับฟิสิกส์คลาสสิก ในปี ค.ศ. 1900 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ยุคใหม่ ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังไม่มีอะไรแสดงถึงจุดสมบูรณ์ เพราะการค้นพบที่มากขึ้นนำมาซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากอายุของเอกภพ ไปถึงธรรมชาติของสุญญากาศ และธรรมชาติในที่สุดของสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฎีบางส่วนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฟิสิกส์ได้เสนอในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามรายนามของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของฟิสิกส์ ก็ยังคงมีมากอยู่
         
          ฟิสิกส์ยุคแรกเริ่ม
ตั้งแต่แรก ช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ ผู้คนพยายามเข้าใจพฤติกรรมของสสาร: ทำไมวัตถุจึงตกลงสู่พื้น ทำไมวัสดุต่างกันจึงมีสมบัติต่างกัน และอื่น ๆ เช่นเดียวกับปริศนาเกี่ยวกับลักษณะของเอกภพ เช่น รูปแบบของโลก และพฤติกรรมของเทหวัตถุบนท้องฟ้า เช่น ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์พฤติกรรมและธรรมชาติของโลกมักถูกอธิบายเป็นแบบฉบับว่าเกิดจากการก่อกำเนิดการกระทำของพระเจ้า ในที่สุดแล้วการอธิบายธรรมชาติในทางทฤษฎีถูกสร้างขึ้นมาจากการพิจารณาคำถาม เกือบทั้งหมดผิด แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในความกล้าได้กล้าเสียของการอธิบายอย่างเป็นระบบ และแม้กระทั่งทฤษฎียุคใหม่ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีสัมพันธภาพ ยังถูกพิจารณาเป็นเพียง "ทฤษฎีที่ยังไม่มีใครโค่นล้ม" เท่านั้น ทฤษฎีทางกายภาพในยุคโบราณถูกชี้นำไปในทางปรัชญา และน้อยครั้งที่จะมีการตรวจสอบด้วยการทดสอบทดลองอย่างเป็นระบบ
ฟิสิกส์ยุคใหม่
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นจากปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 16 สามารถมองเป็นการแบ่งบานของยุคเรเนสซองซ์ และหนทางสู่อารยธรรมยุคใหม่ ส่วนหนึ่งของความรู้เหล่านี้มาจากการค้นพบใหม่จากองค์ประกอบของวัฒนธรรมกรีก อินเดีย จีนและอิสลามซึ่งรักษาและพัฒนาต่อมาโดยโลกอิสลาม  จาก คริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 15 และแปลโดยพระชาวคริสต์เป็นภาษาละติน เช่น Almagest
การพัฒนาเริ่มด้วยนักวิจัยเพียงส่วนน้อย ซึ่งเกี่ยวพันกันความกล้าได้กล้าเสียซึ่งยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นด้วนดาราศาสตร์ หลักการทางปรัชญาธรรมชาติได้ตกผลึกเป็น กฎทางฟิสิกส์ พื้นฐานซึ่งรวบรวมและพัฒนาในศตวรรษแห่งความสำเร็จ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 วิทยาศาสตร์ได้แบ่งเป็นหลายสาขาโดยนักวิจัยเฉพาะทาง และสาขาทางฟิสิกส์ ถึงแม้ว่าจะดังขึ้นมาก่อนในทางตรรกะ ก็ไม่สามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของสาขาทั้งหมดของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
คริสต์ศตวรรษที่ 16
ใน คริสต์ศตวรรษที่ 16 นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ได้ฟื้นแบบจำลองระบบสุริยะที่ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของ Aristarchus ในยุโรปขึ้นมา (ซึ่งอยู่รอดในตอนแรกด้วยการพูดถึงใน The Sand Reckoner ของ อาร์คีมีดิส) เมื่อแบบจำลองนี้ถูกตีพิมพ์ในช่วงท้ายชีวิตของเขา มันมีบทนำโดย Andreas Osiander ที่ถืออย่างเคร่งครัดว่ามันเป็นเพียงรูปสะดวกทางคณิตศาสตร์ สำหรับคำนวณตำแหน่งของดาวเคราะห์ และไม่ได้เป็นธรรมชาติจริง ๆ ของวงโคจรดาวเคราะห์เหล่านั้น ในอังกฤษ วิลเลียม กิลเบิร์ต (ค.ศ. 1544-1603) ได้ศึกษา แม่เหล็ก และตีพิมพ์งานต้นแบบ DeMagnete (ค.ศ. 1600) ในนั้นเขาได้แสดงผลการทดลองจำนวนมากอย่างละเอียด
คริสต์ศตวรรษที่ 17
ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 17 โจ ฮันเนส เคปเลอร์ ได้เขียนสูตรของแบบจำลองระบบสุริยะบนรากฐานของ Platonic solid ห้าดวงโดยพยายามอธิบายว่าทำไมวงโคจรของดาวเคราะห์จึงมีขนาดสัมพัทธ์กันอย่างที่มันเป็นอยู่ การเข้าหาข้อมูลการสังเกตทางดาราศาสตร์ที่แม่นยำสูงของ ไทโค บราห์ทำให้เขาสามารถพิจารณาได้ว่าแบบจำลองของเขาไม่สอดคล้องกับวงโคจรที่สังเกตได้ หลังจากเจ็ดปีแห่งความพยายามอย่างวีรบุรุษในการสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่ที่แม่นยำขึ้นของ ดาวอังคาร (ระหว่างที่เขาเริ่มค้นพบ integral calculus ยุคใหม่) เขาสรุปว่าดาวเคราะห์ไม่ได้เคลื่อนที่ตามวงโคจรแบบวงกลม แต่เป็น วงรี ที่มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงโฟกัสของวงรีนั้น การค้นพบนี่เป็นการคว่ำความเชื่อนับพันปีที่ตั้งอยู่บนแนวคิดของ ปโตเลมี ของวงโคจรวงกลม "สมบูรณ์" สำหรับวัตถุแห่งสรวงสวรรค์ "สมบูรณ์" เคปเลอร์ไปถึงการเขียนสูคร กฎสามข้อของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ของเขา เขายังเสนอแบบจำลองของดาวเคราะห์อันแรกที่มีแรงส่งออกมาจากดวงอาทิตย์ดึงดาวเคราะห์จากการเคลื่อนที่ "ธรรมชาติ" ของพวกมัน ทำให้มันเคลื่อนไปตามวงโคจรโค้ง
อุปกรณืที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ เวอร์เนียร์ ซึ่งวัดในงานเชิงกลของมุมและระยะทางได้อย่างแม่นยำ ประดิษฐ์โดยชาวฝรั่งเศสนาม Pierre Vernier ใน ค.ศ. 1631 เวอร์เนียร์ถูกใช้แพร่หลายในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และร้านเครื่องกลจนกระทั่งทุกวันนี้
Otto von Guericke ได้สร้างเครื่องสูบลมในปี ค.ศ. 1650 และสาธิตฟิสิกส์ของสุญญากาศและความดันบรรยากาศโดยใช้ Magdeburg hemispheres ต่อมาเขาหันไปสนใจใน ไฟฟ้าสถิต และประดิษฐ์อุปกรณ์เชิงกลที่ประกอบด้วยทรงกลมจุซัลเฟอร์ ที่เราสามารถเปิดข้อเหวี่ยงและประจุและลบประจุได้หลายครั้งเพื่อสร้างประกายไฟฟ้า
ในปี ค.ศ. 1656 นักฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ คริสตียาน เฮยเคินส์ ได้ประดิษฐ นาฬิกาเชิงกล โดยใช้ เพนดูลัม ที่แกว่างผ่านส่วนโค้งรูปวงรี ซึ่งใช้พลังงานจากตุ้มถ่วงที่ตก อันนำไปสู่ยุคการจับเวลาให้แม่นยำ
การหาค่าเชิงปริมาณของ อัตราเร็วแสง ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1676 โดย Ole Rømer โดยจับเวลาการเคลื่อนที่ของบริวารดาวพฤหัส คือ ไอโอ ด้วยกล้องโทรทรรศน์
ระหว่างช่วงแรกของ คริสต์ศตวรรษที่ 17 กาลิเลโอ กาลิเลอิ ได้บุกเบิกการใช้การทดลองเพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักใน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้การทดลองของกาลิเลโอ และการยืนยันของกาลิเลโอและเคปเลอร์ว่า ผลการสังเกตย่อมมาก่อนผลทางทฤษฎีใด ๆ (in which they followed the precepts of Aristotle if not his practice) ได้ปัดการยอมรับความเชื่อทางศาสนาออกไป และให้กำเนิดยุคที่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ถูกเปิดกว้างให้ถกเถียงและทดสอบอย่างแน่ชัด กาลิเลโอเขียนสูตรและทดสอบผลการทดลองได้สำเร็จใน พลศาสตร์ รวมทั้งกฎที่ถูกต้องของการเคลื่อนที่ที่มีความเร่ง วิถีการเคลื่อนที่แบบพาราโยลา และสัมพันธภาพของการเคลื่อนที่แบบไม่มีความเร่ง รวมทั้งกฎของ ความเฉื่อย ในแบบแรกเริ่ม
ใน ค.ศ. 1687 ไอแซก นิวตัน ตีพิมพ์ Principia Mathematica, อันมีรายละเอียดของทฤษฎีสองข้อที่ครอบคลุมและประสบความสำเร็จ คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน จากสิ่งที่ทำให้เกิด กลศาสตร์คลาสสิก และ กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน ซึ่งบรรยาย แรงพื้นฐาน ของ ความโน้มถ่วง ทั้งสองทฤษฎีเข้ากับผลการทดลองได้ดี กฎความโน้มอ่วงนำไปสู่สาขาวิชา astrophysics ซึ่งบรรยายปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีทางฟิสิกส์
อ้างอิง
1.       กระโดดขึ้น Cornelius Lanczos, The Variational Principles of Mechanics (Dover Publications, New York, 1986). ISBN 0-486-65067-7.
2.       กระโดดขึ้น Alpher, Herman, and Gamow. Nature 162, 774 (1948).
3.       กระโดดขึ้น Wilson's Nobel Lecture. Wilson, Robert W. (1978). "The cosmic microwave background radiation" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2006-06-07.


วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเคลื่อนที่ในแนวตรง


หน่วยที่   3

 

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง

 

สารระสำคัญ

การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นผลมาจากการที่มีแรงไปกระทำต่อวัตถุ  ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพโดยเปลี่ยนตำแหน่งจากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุจะทำให้เกิดปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ เป็นขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไปโดยมีทิศทาง และระยะทาง ลักษณะทางการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเป็นการเคลื่อนที่ที่ง่ายที่สุด

การเคลื่อนที่เกิดขึ้นเมื่อไร (WHEN DOES MOTION OCCUR?)
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ (
moving object) เราสามารถแสดงตำแหน่ง (location) และความเร็ว (velocity) ของวัตถุในทุก ๆ หน่วยของเวลาได้ ในทางตรงข้ามเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งที่กำหนด หรือเคลื่อนที่ถึงความเร็วที่กำหนดก็สามารถทำนายเวลา (time
) (ยิ่งศักดิ์  นิตยฤกษ์,2549)


รูปภาพที่  3.1แสดงผู้โดยสารรถไฟดูตารางเดินรถซึ่งช่วยให้เขารู้ว่าเมื่อไรรถไฟจะแล่นไปถึงสถานีที่เขากำหนดไว้


 

สาระการเรียนรู้

1.  ความหมายและปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
2.  กฎการเคลื่อนที่
3.  การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวเส้นตรงตามแนวราบ
4.  การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของวัตถุภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก
 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงได้                                                                  2.  บอกความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ได้
3.  คำนวณหาอัตราเร็ว ความเร็ว ความเร่งของวัตถุได้
4.  คำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงตามแนวราบได้
5.  คำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกได้
 
กิจกรรมการเรียนรู้
1.       ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 3 พร้อมเฉลยใช้เวลา 10 นาที นำเข้าสู่บทเรียน
เรื่องการเคลื่อนที่ โดยการสนทนา เกี่ยวกับการเคลื่อนที่
            2.  ผู้สอนบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ หน่วยที่  3  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
3.  ผู้เรียนศึกษาภาพเพื่อสรุปความหมายและความแตกต่างของระยะทางและการกระจัด
4.  ผู้เรียนศึกษากราฟการกระจัดกับเวลา, ความเร็วกับเวลา และกราฟความเร่งกับเวลา และ
ผู้สอนอธิบายลักษณะของกราฟแต่ละประเภท
5.  ผู้สอนเตรียมการสาธิตและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในเส้นตรงประกอบการสาธิตโดยเตรียมรถเด็กเล่นไขลาน โดยทำการสาธิตการเคลื่อนที่ของรถเด็กเล่น  ปล่อยให้รถวิ่งไปข้างหน้า ให้ผู้เรียนสังเกตการสาธิต ถ้ามีเวลาอาจให้นักเรียนบางคนร่วม สาธิตด้วย
6.  ผู้เรียนและผู้สอนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้จากการสาธิต ผู้สอนเชื่อมโยงเกี่ยวกับเงื่อนไขการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับปริมาณต่างๆ ขณะวัตถุเคลื่อนที่แนวเส้นตรง และการคำนวณหาอัตราเร็ว ความเร็ว ความเร่งของวัตถุโดยใช้ PowerPoint ประกอบ
7.  ผู้สอนแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ ขณะวัตถุเคลื่อนที่แบบเส้นตรง พร้อมยกตัวอย่างการใช้สูตรหาปริมาณต่างๆ โดยใช้ PowerPoint  ประกอบ
8.  ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม 4 – 5  คน ใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) พร้อมทั้งเลือกประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม โดยสับเปลี่ยนหน้าที่ในการทำกิจกรรมกลุ่ม

9.  ผู้เรียนทำกิจกรรมการทดลองที่  4.5.1  การตกอย่างอิสระ 
10.  ผู้สอนให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการทดลอง  ให้ขั้นตอนและรายละเอียดในการทดลองแก่ผู้เรียน  โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
11.  ผู้เรียนลงมือทดลองตามขั้นตอนที่กำหนด และบันทึกผลการทดลอง
12.  ผู้เรียนวิเคราะห์สรุปผลการทดลอง และนำแสนอหน้าชั้นเรียน  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมอภิปรายการทดลองตามแนวคำถามท้ายการทดลอง สรุปการเรียนรู้
13.  ผู้สอนเชื่อมโยงความรู้จากการทดลองให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกได้ ตัวอย่างการคำนวณโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งให้ผู้เรียนฝึกแก้โจทย์ปัญหา
14.  ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวตรงและการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งในชีวิตประจำวัน
            15.  ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 3 ตอน  เรื่อง  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง จำนวน 12 ข้อ โดยใช้เวลา 20 นาที และอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่เห็นว่าผู้เรียนส่วนมากไม่ผ่านการประเมิน  เพื่อแก้ข้อสงสัย  และความไม่เข้าใจของผู้เรียนเมื่อตรวจแบบทดสอบแล้วแจ้งคะแนนให้นักเรียนทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไข
            16.  ผู้เรียนทำแบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่  3 ตอนที่ 1,2  เรื่อง  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง  โดยกำหนดส่งหลังจากวันที่มอบหมายภายใน  3  วัน
 
สื่อการเรียนรู้
1.  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม
2.  Powerpoint วิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม
 
การวัดผลประเมินผล

วิธีวัดผล

1.  สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2.  การประเมินผลงานกลุ่ม
3.  ตรวจและให้คะแนนการทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 3
4.  ตรวจงานจากการทำแบบประเมินผลการเรียนรู้
5.  สังเกตพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เครื่องมือวัดผล
1.  แบบสังเกตพฤติกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2.  แบบประเมินประเมินผลงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.  แบบทดสอบหลังเรียนและแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 3
4.  แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เกณฑ์การประเมินผล

            1.  เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2.  เกณฑ์การประเมินประเมินผลงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน ไม่น้อยกว่า 17 คะแนน 
                  จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
3.  ความถูกต้องของแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 3 ไม่น้อยกว่า 80%
4.  ความถูกต้องของแบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 3 ไม่น้อยกว่า 80%
5.  เกณฑ์การประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้อยู่
     ในดุลพินิจของครูผู้สอนและให้ประเมินตามสภาพจริง



1.  ความหมายของการเคลื่อนที่

1.1  การเคลื่อนที่ (Motion) หมายถึง  ขบวนการอย่างหนึ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีทิศทางและระยะทาง

            1.2  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Rectilinear motion) หมายถึง  การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวเส้นตรงซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว เวลา ความเร่ง และระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ (นันทพงษ์  ลายทอง และคณะ, 2549)

       ลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง  สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งมีการเคลื่อนที่นั้นจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป  เช่น การเคลื่อนที่ในแนวตรง  แนวโค้ง เป็นวงกลม  หรือกลับไปกลับมาในการที่เราจะพิจารณาว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่หรือไม่  พิจารณาที่ มีการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่  ถ้ามีการเปลี่ยนตำแหน่ง ถือเป็นการเคลื่อนที่

1.3  การบอกตำแหน่งของวัตถุ การบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ นั้นทำได้โดยการบอกตำแหน่งเทียบกับตำแหน่งหรือสิ่งที่สังเกตได้โดยง่าย  ซึ่งเรียกว่า ตำแหน่งอ้างอิงหรือจุดอ้างอิง  ซึ่งต้องเป็นจุดที่หยุดนิ่ง

 

2.  ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่

            2.1  เวลา  (Time, t) การที่จะทราบว่าวัตถุเคลื่อนที่หรือไม่ จะเริ่มจากการสังเกตวัตถุนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง  ซึ่งจุดที่เริ่มสังเกตจะนับเวลาเริ่มต้น ณ จุดนั้นมีค่า t = 0  จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป วัตถุจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง ช่วงเวลาที่สังเกตจะเป็นเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ซึ่งถ้าไม่ทราบค่าแน่นอนจะใช้ t  แทนช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีหน่วยเป็นวินาที (s)

2.2  ระยะทาง (Distance, s) หมายถึง  แนวเส้นที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดเริ่มต้นอ้างอิง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป การวัดระยะทางจะวัดตามแนวทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไป  ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงก็วัดระยะทางได้ง่ายขึ้น  แต่ถ้าแนวทางไม่เป็นเส้นตรงก็จะวัดระยะทางได้ลำบาก        

        ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ตามเส้นทางที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่จริง ๆ โดยไม่คำนึงว่าวัตถุ

จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหรือไม่  ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์

2.3   การกระจัด (Displacement, d) หมายถึง  การที่วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

โดยการเคลื่อนที่จากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย  โดยมีทิศทางจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร (m) (นันทพงษ์  ลายทองและคณะ, 2549)
 
 
 
                    
                     รูป ภาพที่  3.2  การกระจัด
 
                    สรุป ระยะห่างตามแนวเส้นตรงระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย  เป็นปริมาณ
เวกเตอร์  มีขนาดเท่ากับระยะห่างและทิศทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
                    ข้อเปรียบเทียบระหว่างระยะทางกับการกระจัด
                    1.  ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์  การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์
                    2.  ขนาดของระยะทางจะมากกว่าการกระจัดเสมอ ถ้าวัตถุนั้นไม่ได้เคลื่อนที่ใน
แนวเส้นตรงตลอด  เช่น วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จาก A ไปทางทิศตะวันออก ถึง B  เป็นระยะทาง 12  เมตร  แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางทิศเหนือ ถึง C เป็นระยะ  5  เมตร
                           3. ขนาดของระยะทางกับการกระจัดมีโอกาสเท่ากันได้  ถ้าวัตถุนั้นเคลื่อนที่โดย
ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง 
                  2.4  อัตราเร็ว คือ  ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณ
สเกลาร์  ไม่คำนึงถึงทิศทาง  มีหน่วยเป็นเมตร / วินาที




2.5  ความเร็ว (velocity)  คือ  ระยะการเปลี่ยนแปลงการกระจัดหรือระยะการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา  เป็นปริมาณเวกเตอร์   มีหน่วยเป็นเมตร / วินาที